ภาพ ตุงไชยและตุงไส้หมู ใช้ประดับ ตกแต่งในพิธีมงคลและงานบุญ
1. แบ่งตามวัสดุในการทำ
ตุงที่ทำจากกระดาษ ได้แก่ ตุงช้าง ตุงไส้หมู
ตุงที่ทำจากผืนผ้า ได้แก่ ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ ตุงแดง ตุงซาววา ตุงพระบฏ
ตุงที่ทำด้วยกระดาษหรือผ้า ได้แก่ ตุงสามหาง ตุงที่ทอจากเส้นด้ายหรือเส้นไหม ได้แก่ ตุงไชย
ตุงที่ทำจากไม้หรือสังกะสี ได้แก่ ตุงกระด้าง
ภาพ ตุงไชยใช้ในการร่วมเดินขบวนเฉลิมฉลอง
2. ตุงที่ใช้ในงานประดับประดาหรือร่วมขบวน
ตุงซาววา มีความหมายมงคลใช้งานเหมือนตุงไชยแต่มีลักษณะยาวกว่า ไม่มีเสาที่ปัก ต้องใช้คนถือหลายคนนิยมให้ผู้ร่วมขบวนเดินถือชายตุงต่อ ๆ กัน
ตุงกระด้าง มักนิยมทำด้วยไม้แกะสลักและประดับกระจก ลงรักปิดทองด้วยลวดลายดอกไม้ต่าง ๆ ลายสัตว์ต่าง ๆ แบบถาวรและมักจะทำไว้ในที่ที่มีความสำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ
3. ตุงที่ใช้ในงานพิธีมงคล
ตุงไชย เป็นเครื่องหมายบอกถึงความเป็นสิริมงคล ทำได้โดยการทอจากด้ายหรือสลับสีเป็นรูปเรือ รูปปราสาทหรือลวดลายมงคล ใช้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า ในบริเวณนั้นจะมีงานฉลองสมโภชโดยจะปักตุงไว้ห่างกันประมาณ 8-10 เมตร เป็นแนวสองข้างถนนสู่บริเวณงาน และยังนิยมใช้ในการเดินขบวนเมื่อมีงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ
ตุงช้าง ส่วนใหญ่ทำด้วยกระดาษมีลักษณะการนำไปใช้งานเช่นเดียวกับตุงไชย
ตุงพระบฏ จะเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ จะประดับตุงไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ โดยการแขวนไว้กับผนังด้านหลังพระประธานทั้งสองข้าง
ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ จะมีรูปตะขาบและจระเข้อยู่ตรงกลาง ปักไว้เป็นการแสดงว่าวัดนี้จะมีการทอดกฐิน หรือแห่นำขบวนไปยังวัดที่จองกฐินไว้
ตุงไส้หมู เป็นพวงประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ ใช้ประดับตกแต่งงานพิธีบุญต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม
4. ตุงที่ใช้ในงานพิธีอวมงคล
ตุงแดง หรือเรียกว่า ตุงค้างแดง ตุงผีตายโหง จะปักตุงแดงไว้ตรงบริเวณที่ผู้ตายโหงแล้วก่อเจดีย์ทรายกองเล็ก ๆ เท่ากับอายุของผู้ตายไว้ในกรอบสายสิญจน์โดยเชื่อว่าผู้ตายจะได้หมดทุกข์และเป็นการปักสัญลักษณ์เตือนว่าจุดนี้เกิดอุบัติเหตุ
ตุงสามหาง มีความเชื่อตามคติของพระพุทธศาสนาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือมีความเชื่อว่าคนเราตายแล้วต้องไปเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่ง หรือหมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใช้ในการเดินนำขบวนศพ ชาวเหนือมีจุดมุ่งหมายในการใช้ตุงเพื่อเป็นพุทธบูชามานาน และยังเชื่อว่าการได้ถวายตุงเป็นการสร้างกุศลให้กับตนเองใช้ในการสะเดาะเคราะห์ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดไป และยังเป็นการอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้จุดมุ่งหมายในการใช้ตุงที่สำคัญอีกอย่างคือการใช้เพื่อการเฉลิมฉลองศาสนสถาน ศาสนวัตถุ หรือสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์อีกด้วย แต่ในปัจจุบันอาจจะเห็นได้ว่าเมื่อความเจริญทางวัตถุเริ่มเข้ามาแทนที่ รูปแบบการผลิตของสังคมเปลี่ยนไป ก็ทำให้รูปแบบของการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการสนองตอบความต้องการทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ กับเป็นการใช้ตุงเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาวเหนือ และเน้นทางด้านธุรกิจมากขึ้นอย่างเช่น เราอาจเห็นตุงไปจัดอยู่ในโรงแรม ตามเวทีประกวดนางงาม หรือการจัดงานอะไรก็ตามแต่จะต้องมีตุงเข้าไปเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอจนไม่อยากคิดเลยว่าสาระความสำคัญและหน้าที่ของตุงมันเลอะเลือนไปแล้ว คนรุ่นนี้ควรอนุรักษ์เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นศิลปวัฒนธรรมและคติความเชื่อของบรรพชนให้อยู่คู่กับคนภาคเหนือต่อไป
การแต่งกายประจำภาคเหนือภาคเหนือ
มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง) การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
- ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
- ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
- ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
- ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น